วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554



ผักปั๋ง
วงศ์ : BASELLACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Basella albe Linn. (ผักปลังขาว)
: Basella rubra Linn. (ผักปลังแดง)
ชื่อสามัญ : East indian spinach, Malabar Nightshade, Indian spinach
,Ceylon Spinach
ชื่อสามัญไทย : ผักปลังขาว , ผักผลังแดง, ผักปลังใหญ่
ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ : โปเด้ง ฉ้าย (จีน) เหลาะขุ่ย (แต้จิ๋ว) ลั่วขุย (จีนกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
ผักปั๋ง เป็นไม้เลื้อย สำต้นกลม อวบน้ำสีเขียว และสีม่วงอมแดง ไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขาได้ยาวหลายเมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับตามข้อ ลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลมโคนใบเว้าสีเขียวเป็นมัน ยาว 2.5-7.5 ซม. กว้าง 2-6 ซม. ก้านใบสีเขียว และสีแดงอวบน้ำ ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อดอกยาว 5-10 ซม. ไม่มีก้านดอกย่อย กลีบดอกมี 5 กลีบ ติดกันอยู่ที่ฐานปลายแยกมีใบประดับ 2 ใบเล็ก ๆ ติดอยู่ที่ฐานดอกสีขาวสีชมพูและสีขาวอมชมพู ผลกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 มม. ผลแก่มีสีม่วงดำ เนื้อนิ่มภายในมีน้ำสีม่วงดำ
ตำนาน ความเชื่อพื้นบ้าน และการนำไปใช้ในพิธีกรรมของชาวเหนือ
ชาวเหนือเชื่อว่า ผู้ที่มีคาถาอาคมจะไม่รับประทานผักปั๋ง เนื่องจากเชื่อว่าทำให้คาถาอาคมเสื่อม เพราะว่าเป็นผักที่นำไปช่วยให้สตรีคลอดบุตรง่ายขึ้น ใช้ทำแกงได้โดยโขลกพริกและใส่มะขามหรือมะนาวด้วย หรือจะเจียวผักปั๋งไม่ใส่พริก แต่ใช้พริกสดปิ้งไฟใส่ไปในหม้อแกงด้วย เชื่อว่าให้แม่มานกินแกงผักปั๋งทุกวันเดือนดับเดือนเต็ม จะทำให้คลอดลูกง่ายทำให้ลื่นไหลเหมือนกับผักปั๋ง
หรือในกรณี “ บ่วงเครือผักปั๋ง “ โดยใช้เครือผักปั๋งมาพันเกี้ยวกัน ทำให้เป้นบ่วงขนาดที่หญิงแม่มานลอดได้เอาบ่วงผักปั๋งนี้แช่น้ำอาบในวันเดือนดับเดือนเต็ม หลังจากที่อาบน้ำเสร็จแล้วให้นำบ่งผักปั๋งนั้นสวมหัวลงให้ผ่านจนถึงเท้าจะทำให้คลอดง่ายไม่มีติดขัด การที่ให้ทำเช่นนี้ก็เป็นเพราะต้องการให้กำลังใจแก่หญิงแม่มาน ทำให้จิตใจสบายไม่กังวลกลัวเจ็บในเวลาที่จะคลอดบุตร
นอกจากนี้ ชาวเหนือยังใช้ผักปั๋งในพิธีสะเดาะเคราะห์เพื่อป้องกันผีตายโหง และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายแล้ว
การปลูกและขยายพันธุ์
ผักปั๋งเป็นพืชเขตร้อนแถบทวีปเอเซีย แบะแอฟริกา ผักปั๋งในเมืองไทยมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ ผักปั๋งขาวกับผักปั๋งแดง ชาวเหนือและชาวอีสานนิยมปลูกในบริเวณบ้าน ตามริมรั้วนับเป็นพรรณไม้ที่ปลูกง่าย ชอบดินชื้นแฉะ ขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่งแก่ มักเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน
ประโยชน์ทางยา
สรรพคุณทางสมุนไพร
    1. แก้อาการปัสสาวะขัด ใช้ใบสด 60 กรัม ต้มกับน้ำดื่มแบบชาต่อหนึ่งครั้ง
    2. แก้อาการท้องผูก นำใบสด หรือยอดอ่อน มาต้มกินเป็นอาหาร
    3. รักษาไส้ติ่งอักเสบ ใช้ต้มสด 60-120 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม
    4. แก้ฝี หรือแผลสด ใช้ใบสดดำพอกตรงบริเวณที่เป็น หรือขยี้ทาก็ได้
    5. แก้อาการอึดอัดแน่นท้อง ใช้ต้นสน 60 กรัม เคี่ยวกับน้ำให้ข้นแล้วดื่ม
    6. รักษาฝีเนื้อร้าย นำใบสดมาตำแล้วพอกบริเวณนั้น เปลี่ยนวันละ 1-2 ครั้ง
ประสบการณ์พื้นบ้าน
    
   หมอเมืองล้านนาใช้ส่วนต่างๆ ของผักปั๋งเป็นยา ดังนี้
   1. ต้น : รสหวานเอียน เป็นยาแก้พิษฝีดาษ แก้อักเสบบวม แก้ท้องผูก ต้มดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ เป็นยาระบายแก้อาการอึดอัดแน่นท้อง
   2. ใบ : นำมาตำใช้พอกแผลสด และแก้ฝีเนื้อร้ายแก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน ขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก ระบายท้อง แก้บิด
นอกจากนี้ แม่ช่าง (หมอตำแย) ทางภาคเหนือ มักนำใบสด ตำให้ละเอียด คั้นน้ำเมือก เอาน้ำเมือกมาทาบริเวณช่องคลอด เพื่อช่วยให้หญิงมีครรภ์คลอดบุตรง่ายขึ้น รวมทั้งแนะนำให้หญิงมีครรภ์รับประทานผักปั๋งอีกด้วย
หมอเมืองบางท่านใช้ใบผักปั๋ง ตำกับข้าวสารจ้าว พอกแก้โรคมะเฮ็งไข่ปลา(เริม)ได้ด้วย
   3. ดอก : แก้หัวนมแตกเจ็บ ดับพิษ และพิษฝีดาษ แก้โรคเรื้อน โดยการคั้นน้ำจากดอกสด ๆ นำมาทาตรงบริเวณที่เป็น
   4. ราก : ใช้เป็นยาถู หรือนวดให้ร้อน ช่วยทำให้บริเวณนั้นมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ส่วนน้ำที่คั้นจากรากนั้นเป็นยาหล่อลื่นได้อย่างดี และช่วยขับปัสสาวะ
   5. ก้าน : มีสรรพคุณแก้พิษฝี แก้ขัดเบา แก้พรรดึก ลดไข้
   6. ผล : ใช้ผลต้มรับประทานแก้ฝี และใช้ใบกับผลขยี้ทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย มีลักษณะเป็นแผลไหม้เมื่อทาแล้วจะช่วยบรรเทาอาการ และทำให้รู้สึกเย็นขึ้น
ประโยชน์ทางอาหาร
ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนของผักปั๋งรับประทานเป็นผักได้ ออกมาในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาวโดยนำไปต้ม ลวก หรือนึ่งให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก
 น้ำพริกผักจิ้ม
ชาวเหนือนิยมรับประทานกับน้ำพริกดำ น้ำพริกอ่อง น้ำพริกต๋าแดง
อาหารอื่น ๆ
ชาวเหนือนิยมใช้แกงกับถั่วเน่า จอผักปั๋งใส่มะนาว ดอกนำมาจอกับแหนม ใส่เก๋งแค แก๋งเลียง นอกจากนั้นยังนำยอดอ่อน และดอกอ่อนของผักปั๋งมาแก๋งจิ๊นส้ม แก๋งผักปั๋ง ผัดกับแหนม หรือใส่แก๋งอ่อมหอยได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ผลสุกของผักปั๋งแดงที่มีสีม่วงแดงประกอบด้วยสารแอนโทไซยานิ (anthocyaninx) สีจากผลมักใช้แต่งสีอาหารคาวหวาน โดยนำมาตำให้ละเอียดเติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำจะได้สีม่วงแดงตามต้องการ แล้วจึงนำไปเป็นสีผสมอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ขนมบัวลอย ขนมเปียกปูน ขนมสลิ่ม ขนมน้ำดอกไม้ เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการต่อสุขภาพ
ผักปั๋ง 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 21 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยโปรตีน 2.0 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.7 กรัม กาก 0.8 กรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามิน A 9316 IU. วิตามิน B1 0.07 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.20 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.1 มิลลิกรัม วิตามิน C 26 มิลลิกรัม 
 

สะระแหน่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Metha cordifolia Opiz.
ชื่อวงศ์ : Labiatae
ชื่อสามัญ : Kitchen Mint, Marsh Mint
ชื่ออื่น : หอมด่วน หอมเดือน (ภาคเหนือ), มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้), สะระแหน่สวน (ภาคกลาง), ขะแยะ (อีสาน)
ลักษณะ : สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกเลี้อยตามพื้นดิน ลำต้นสีแดงเข้ม ใบกลมขนาดหัวแม่มือ ใบค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบ ภายในใบเป็นคลื่นยับย่น และมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ : ใบ
สรรพคุณ : สะระแหน่นั้นมีสรรพคุณมากมาย เช่น เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการ หวัดได้ และยังสามารถแก้อาการ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ และหากนำน้ำ ที่คั้นจากต้น และใบมาใช้ดื่ม ก็จะช่วยขับลมในกระเพาะได้ หรือใครจะกินสดๆ เพื่อดับกลิ่นปากก็ยังได้ นอกจากนี้ การบริโภคสะระแหน่ ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ ป้องกัน ไข้หวัด บำรุงสายตา และช่วยให้หัวใจแข็งแรง
สารสำคัญที่พบ : ใบและลำต้นมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยสารเมนทอล (Menthol) ไลโมนีน (Limonene) นีโอเมนทอล (Neomenthol) เป็นต้น
สารอาหาร : สะระแหน่นั้นมีสารอาหารหลายอย่าง เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินบี 1 2 วิตามินซี ปัจจุบันได้สกัดสารจากสะระแหน่ในการลูกอมสะระแหน่ไว้
ใช้อม หรือที่เรียกว่า ลูกอมมินต์
ขนาดและวิธีใช้
    อาการปวดศีรษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น ให้ดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง 
    การแก้พิษ แมลงสัตว์กัดต่อย ทำได้โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด แล้วพอกบริเวณที่โดนกัด อย่าลืมว่าใบสะระแหน่ที่สดและอ่อน จะมีคุณค่ามากกว่าใบสะระแหน่แห้ง
    ช่วยดับกลิ่นคาว ยอดสะระแหน่นั้นรับประทานเป็นผักสดก็ได้ หรือกินกับน้ำพริก ลาบ น้ำตก พล่า ยำ หรือแต่งกลิ่นหอม ๆ ใส่ต้มยำ ช่วยดับกลิ่นได้ดี
    แก้อาการอาหารไม่ย่อย โดยใช้ใบสะระแหน่ต้มกับน้ำดื่ม
    หวัดน้ำมูกไหลจามไอบ่อย ๆ หรือจะเป็นไข้หวัด ใช้ใบสะระแหน่ต้มกับเต้าหู้ดื่ม
    แก้อาการเกร็งกล้ามเนื้อ แก้ปวดบวมผื่นคัน ใช้ใบสะระแหน่ตำให้ละเอียดพอกหรือทา 
    ห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก 
    เป็นแผนในปาก ใช้ใบสะระแหน่ต้มใส่เกลือเล็กน้อยดื่ม
    อาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี 
    อาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิง


















ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ชื่อสามัญ : Ivy Gourd

ชื่ออื่นๆ : ตำลึง (กลาง, นครราขสีมา), ผักแคบ (เหนือ), ผักตำนิน (อีสาน)

ลักษณะพฤกษศาสตร์ : ตำลึงละตำลึงเป็นผักพื้นบ้านหากินได้ทุกหัวระแหง ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นตำลึงขึ้นพันไม้อื่นหรือไม่ก็ขึ้นตามริมรั้วจะเรียกผักริมรั้วก็คงไม่ผิด ปกติบ้านใครมีที่มีทางก็แทบไม่ต้องซื้อหาให้เปลือง แต่ถ้าอยู่ในเมืองลองไปเมียงๆมองๆแถวตลาดสดหรือตลาดติดแอร์ดูเถอะ รับรองไม่ผิดหวัง ตำลึงมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก และที่เห็นจะถูกใจคนรักสุขภาพแน่ ๆ ก็คือ ตำลึงมีเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือด นอกจากนี้ยังให้แคลเซียมอีกด้วย ส่วนใครที่มีปัญหาขับถ่าย น่าลองมารับประทานดู เพราะตำลึงมีกากใยที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี

ตำลึง เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีมือจับ เพื่อเกาะยึดหลักหรือต้นไม้อื่นๆ ลำเถาสีเขียว
ใบ เป็นใบเดี่ยวสลับกันไปตามเถา ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื้อยตื้นๆ หยักเว้า 5 แฉก เส้นใบแยกจากโคนใบที่จุดเดียวกัน 5-7 เส้น ใบกว้าง 3-4 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3-5 เซนติเมตร
ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ ออกเดี่ยวๆหรือออกเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก เป็นไม้ที่ไม่สมบูรณ์เพศ คือ เพศผู้และเพศเมียจะอยู่คนละต้นกัน ซึ่งสังเกตได้จากใบ ถ้าใบหยักมากเป็นเพศผู้ แต่ดอกจะสีขาวทรงกระบอก หัวแฉกเหมือนกัน
ผล มีรูปร่างคล้ายแตงกวา แต่มีขนาดเล็กกว่า ผลที่อ่อนมีสีเขียว และมีลายขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดงสด เนื้อลักษณะสีแดง สามารถรับประทานได้
การขยายพันธุ์ : เมล็ด ใช้เมล็ดจากผลแก่ หยอดลงในหลุม เมื่อต้นกล้างอก หาไม้ปักเป็นหลัก เพื่อให้ตำลึงเลื่อย ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย นอกจากนั้นสามารถนำเถาแก่ปักชำ โดยตัดเถาแก่ขนาด 5-6 นิ้ว ปักในถุงเพาะชำ เมื่อรากและยอดงอก ก็ย้ายไปปลูกในหลุม

การปลูก : พรวนดินให้ร่วนซุยผสมกับปุ๋ยคอก ขุดหลุมและหยอดเมล็ดในหลุม เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกหาไม้มาทำเป็นหลักให้ลำต้นเลื้อยพันบนหลัก ไม้ที่ทำเป็นหลักอาจจะปักพิงกับรั้วทะแยงทำมุม 45 - 60 องศา ในระยะแรกพยายามจัดให้ต้นพันไปที่หลักอย่าให้เลื้อยไปตามผิวดิน หมั่นรดน้ำเช้า - เย็น และให้ปุ๋ยยูเรีย 2 - 3 สัปดาห์ต่อหนึ่งครั้ง เมื่อตำลึงทอดยอดยาว หมั่นเด็ดยอดมารับประทาน จะทำให้เกิดยอดใหม่ขึ้นมาแทน

สรรพคุณทางยาและวิธีใช้

รักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน
ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับหมดคันไฟ หรือใบตำแย)
แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น
แก้งูสวัด, เริม : ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ
แก้ตาช้ำตาแดง : ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา
ทำให้ใบหน้าเต่งตึง : นำยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก
การปรุงอาหาร
ยอดอ่อนและใบอ่อนของตำลึงนำไปลวกและนึ่งเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกและนำไปปรุงอาหารเป็นแกงเลียง แกงจืด ผัก บางท้องถิ่นชาวบ้านนำผลอ่อนของตำลึงไปดองและนำไปรับประทานกับน้ำพริกหรือปรุงเป็นแกงได้ ยอดอ่อนของตำลึงเป็นผักที่คนไทยนิยมรับประทาน มีจำหน่ายในตลาดสดทุกภาคของเมืองไทย

ตำลึงยังมีประโยชน์ ดังนี้ คือ ใบ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน ดับพิษฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน ดอก แก้คัน เมล็ด ตำผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิด เถา ใช้น้ำจากเถาหยดตา แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ ชงกับน้ำดื่มแก้วิงเวียนศีรษะ ราก ดับพิษทั้งปวง แก้ตาฝ้า ลดไข้ แก้อาเจียน น้ำยาง,ต้น,ใบ,ราก แก้โรคเบาหวาน หัว ดับพิษทั้งปวง

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ผักขี้เหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia siamea Britt. Caesalpiniaceae, Leguminosae
ชื่อสามัญ CASSOD TREE,THAI COPPER POD, SIAMESE CASSIA.

ส่วนที่ใช้เป็นยา
ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอก ดอกตูมแห้ง และแก่น ขนาดและวิธีใช้สำหรับ อาการท้องผูก ใช้ ใบอ่อน
ดอกและแก่นแห้ง ประมาณ 4 - 5 กำมือ น้ำหนัก 20 - 25 กรัม ใส่น้ำให้ท่วมเติมเกลือเล็กน้อย ต้ม 10 - 25 นาที ดื่มก่อนอาหารเช้า หรือก่อนนอนให้หมดในครั้งเดียว
ขนาดและวิธีใช้
สำหรับอาการเบื่ออาหาร ใช้ใบ ยอดอ่อน และดอก ต้มเดือด เคี่ยว 5 - 10 นาที เทน้ำทิ้ง และต้มใหม่เอาเนื้อสำหรับจิ้มน้ำพริก หรือแกงรับประทานสำหรับอาการนอนไม่หลับ ใบอ่อนและดอกตูมแห้ง 150 กรัม เติมเหล้าโรงพอท่วม แช่ทิ้งไว้ 5 -7 วัน คนบ่อย ๆ กรองเอากากออก ดื่มครั้งละ 1 - 2 ช้อนชาก่อนนอน

สรรพคุณ
- แก้อาการท้องผูก การที่ส่วนต่าง ๆ ของขี้เหล็ก ช่วยแก้อาการท้องผูกได้
เพราะมีสารสำคัญพวกแอนทราควิโนนหลายชนิด ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย
- ช่วยเจริญอาหาร การที่ใบและดอกขี้เหล็ก ช่วยเจริญอาหารได้ เพราะมีสารที่มีรสขมจึงช่วยกระตุ้นทำให้อยากอาหาร
- ช่วยให้นอนหลับ การที่สารสกัดด้วยเหล้าโรงของใบอ่อน และดอกตูมแห้งของขี้เหล็ก
สามารถช่วยให้นอนหลับได้ เพราะมีสารพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง
ช่วยทำให้นอนหลับ แต่ไม่ไช่ยานอนหลับโดยตรง

ข้อเสนอแนะ การใช้สมุนไพรแก้อาการท้องผูก
1. สมุนไพรพวกนี้ ให้ใช้ในขณะที่มีอาการท้องผูก ห้ามใช้ประจำ เพื่อจุดประสงค์ต้องการ
ให้มีรูปร่างระหง และควรรับประทานยาสมุนไพรก่อนนอน
2. ขนาดที่ใช้อาจเพิ่มหรือลดลงได้เล็กน้อยขึ้นอยู่กับ "อายุ" เด็ก หรือผู้ที่ธาตุเบา
ควรใช้ขนาดลดลง ถ้าผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว หรือ ธาตุหนัก ควรเพิ่มสมุนไพรเล็กน้อย

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554



                                                                        ชะอม

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมแต่เคยมีพบชะอมในป่าลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้1.2เมตร ไม้ชะอมที่ปลูกตามบ้านจะพบในลักษณะไม้พุ่มและเจ้าของมักตัแต่งกิ่งเพื่อให้ออกยอดไม่สู่เกินไปจะได้เก็บยอด ได้สะดวกตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมใบเป็นใบประกอบขนาดเล็กมีก้านใบแยกเป็นใบอยู่2 ทางลักษณะ คล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อยใบอ่อนมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอใบเรียงแบบสลับใบย่อยออกตรงข้ามกัน ใบย่อรูปรีมีประมาณ13-28คู่ขอบใบเรียบปลายใบแหลมดอกออกที่ซอกใบสีขาวหรือขาวนวลดอกขนาด เล็กและเห็นชัดเฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ
การปลูก ชะอมเป็นไม้ที่ปลูกง่ายปลูกโดยวิธีการปักชำการเพาะเมล็ดการตอนกิ่งและการโน้มกิ่งที่มีข้อปักดินเพื่อให้ได้ ต้นใหม่แต่วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการเพาะเมล็ดการปลูกชะอมมักปลูกในฤดูฝนเพราะไม่ต้องดูแลมากนักการ เพาะเมล็ดทำได้โดยเอาเมล็ดใส่ถุงพลาสติกแล้วรดน้ำวันละ1ครั้งเมื่อเมล็ดงอกแล้วจึงย้าไปปลูกยังแปลว ที่เตรียมไว้ควรปลูกห่างกันประมาณ5-5เมตรเนื้อที่1ไร่จะปลูกได้ประมาณ60ต้นปุ๋ยที่ใช้ดูแลรักษามักใชัปุ๋ย สดหรือมูลสัตว์ถ้าต้องการให้ชะอมสมบูรณ์และแตกยอดเร็วต้องดูแลและควรรดน้ำให้สม่ำเสมอและเพียง พอเมื่อเก็บยอดชะอมควรเหลือไว้ที่ยอด3-4ยอดเพื่อให้ชะอมได้ปรุงอาหารหายใจมิฉะนั้นชะอมจะตายชะอม เป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรได้ดีมีการบันทึกถึงรายได้จากการขายยอดชะอมของชาวบ้านที่จ.สุรินทร์ พบว่ามีรายได้2000-7000ต่อเดือนขึ้นกับฤดูกาลและขนาอของพื้นที่ที่ปลูกนอกจากนี้ยังเป็นไม้ที่ปลูกเพียงครั้งเดียและเจริญเติบ โตให้ยอดอ่อนได้นานหลายปี
ประโยชน์ทางยา
รากของชะอมสรรพคุณแก้ท้องเฟ้อขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

เกี่ยวกับmikaew

ชื่อ นางสาวนรินธร  รักษาก้านตง

สาขาการพัฒนาชุมชน  ชั้นปี 2

สนใจเกี่ยวกับ ผักท้องถิ่น    

ต้องการที่จะเผยแพร่ผักในท้องถิ่น
ให้ผู้คนได้รับรู้มากยิ่งขึ่น