วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

 

สะระแหน่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Metha cordifolia Opiz.
ชื่อวงศ์ : Labiatae
ชื่อสามัญ : Kitchen Mint, Marsh Mint
ชื่ออื่น : หอมด่วน หอมเดือน (ภาคเหนือ), มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้), สะระแหน่สวน (ภาคกลาง), ขะแยะ (อีสาน)
ลักษณะ : สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกเลี้อยตามพื้นดิน ลำต้นสีแดงเข้ม ใบกลมขนาดหัวแม่มือ ใบค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบ ภายในใบเป็นคลื่นยับย่น และมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ : ใบ
สรรพคุณ : สะระแหน่นั้นมีสรรพคุณมากมาย เช่น เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการ หวัดได้ และยังสามารถแก้อาการ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ และหากนำน้ำ ที่คั้นจากต้น และใบมาใช้ดื่ม ก็จะช่วยขับลมในกระเพาะได้ หรือใครจะกินสดๆ เพื่อดับกลิ่นปากก็ยังได้ นอกจากนี้ การบริโภคสะระแหน่ ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ ป้องกัน ไข้หวัด บำรุงสายตา และช่วยให้หัวใจแข็งแรง
สารสำคัญที่พบ : ใบและลำต้นมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยสารเมนทอล (Menthol) ไลโมนีน (Limonene) นีโอเมนทอล (Neomenthol) เป็นต้น
สารอาหาร : สะระแหน่นั้นมีสารอาหารหลายอย่าง เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินบี 1 2 วิตามินซี ปัจจุบันได้สกัดสารจากสะระแหน่ในการลูกอมสะระแหน่ไว้
ใช้อม หรือที่เรียกว่า ลูกอมมินต์
ขนาดและวิธีใช้
    อาการปวดศีรษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น ให้ดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง 
    การแก้พิษ แมลงสัตว์กัดต่อย ทำได้โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด แล้วพอกบริเวณที่โดนกัด อย่าลืมว่าใบสะระแหน่ที่สดและอ่อน จะมีคุณค่ามากกว่าใบสะระแหน่แห้ง
    ช่วยดับกลิ่นคาว ยอดสะระแหน่นั้นรับประทานเป็นผักสดก็ได้ หรือกินกับน้ำพริก ลาบ น้ำตก พล่า ยำ หรือแต่งกลิ่นหอม ๆ ใส่ต้มยำ ช่วยดับกลิ่นได้ดี
    แก้อาการอาหารไม่ย่อย โดยใช้ใบสะระแหน่ต้มกับน้ำดื่ม
    หวัดน้ำมูกไหลจามไอบ่อย ๆ หรือจะเป็นไข้หวัด ใช้ใบสะระแหน่ต้มกับเต้าหู้ดื่ม
    แก้อาการเกร็งกล้ามเนื้อ แก้ปวดบวมผื่นคัน ใช้ใบสะระแหน่ตำให้ละเอียดพอกหรือทา 
    ห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก 
    เป็นแผนในปาก ใช้ใบสะระแหน่ต้มใส่เกลือเล็กน้อยดื่ม
    อาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี 
    อาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิง

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น